ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ

นวัตกรรมการศึกษา

บทเรียนโปรแกรม
.......การลำดับประสบการณ์ที่จัดวางไว้สำหรับนำผู้เรียนไปสู่ความสามารถโดยอาศัยหลักความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับการตอบสนองพื้นฐานทางจิตวิทยาของบทเรียนโปรแกรม เป็นทฤษฎีแนวพฤติกรรมนิยม ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรง อาจเป็นไปได้ทั้งพฤติกรรมทางสมอง กล้ามเนื้อ และความรู้สึกการเสริมแรงเป็นการกระทำให้การตอบสนองของผู้เรียนมีความหมาย และเป็นไปตามที่ผู้สอนปรารถนาทุกครั้ง

ลักษณะของบทเรียนโปรแกรม
1. การแบ่งขั้นการเรียนรู้เป็นหน่วยย่อยๆ และเรียงลำดับจากง่ายไปสู่ยาก
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างกระฉับกระเฉง
3. ให้ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนของตนอย่างทันทีทันใด
4. ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนเป็นระยะๆ

ประเภทของบทเรียนโปรแกรม
1. แบบเส้นตรง ให้ผู้เรียนทุกคนเรียนผ่านกรอบของบทเรียนทุกกรอบ ตั้งแต่กรอบที่ 1 ไปจนถึงกรอบสุดท้าย
2. แบบสาขา
- กรอบยืนหรือกรอบหลัก ทุกคนต้องเรียนผ่าน
- บทเรียนโปรแกรมแบบสาขา เหมาะสำหรับการใช้สอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา การวิเคราะห์

ข้อดีและข้อจำกัดของบทเรียนโปรแกรม
ข้อดี ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเอง สามารถแก้ไขความเข้าใจผิดได้ทันทีถ้าตอบผิด ถ้าตอบถูกก็มีการเสริมแรงให้เกิดกำลังใจ สนรองความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี
ข้อจำกัด ไม่เหมาะสมสำหรับการสอนเนื้อหาวิชาที่ต้องการคำตอบในแง่ความคิด

ชุดการสอน
คือ ชุดของสื่อหลายๆชนิดหรือที่เรียกว่าสื่อประสมที่จัดไว้เป็นกล่องหรือซองตามลักษณะของเนื้อหาวิชา เพื่อรวบรวมเอกสารและประสบการณ์ต่างๆสำหรับช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทฤษฎีที่ทำให้เกิดชุดการสอน
1. การใช้สื่อประสม
2. การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
3. การใช้จิตวิทยาการเรียนรู้มาจัดสภาพในการเรียน

ประเภทของชุดการสอน
1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย
2. ชุดการสอนแบบกลุ่มเล็กและชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
3. ชุดการสอนรายบุคคล

องค์ประกอบของชุดการสอน
1. คำชี้แจง
2. จุดมุ่งหมาย
3. การประเมินผลเบื้องต้น
4. รายการเนื้อหาวิชาและสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
5. การกำหนดกิจกรรม
6. การประเมินผลขั้นสุดท้าย

ประโยชน์ของชุดการสอน
1. เร้าความสนใจของผู้เรียน
2. การเรียนรู้เป็นอิสระจากอารมณ์ของครู
3. ขจัดปัญหาในการขาดแคลนครู สนับสนุนการศึกษานอกโรงเรียน
4. แก้ปัญหาความแตกต่างๆระหว่างบุคคล
5. ผู้เรียนสามารถรับทราบผลความก้าวหน้าของตนเอง
6. ให้ความสะดวกและสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่ครู

ศูนย์การเรียน
คือ การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยมุ่งให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากโปรแกรมการเรียน ซึ่งจัดไว้ในรูปชุดการเรียนการสอนรายกลุ่มหรือรายบุคคล

แนวคิดในการจัดศูนย์การเรียน
1. การให้ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง
2. ให้รับทราบผลการกระทำในทันที
3. ให้มีโอกาสเกิดความภาคภูมิใจ
4. ให้เรียนไปทีละน้อยตามลำดับขั้น

ประเภทศูนย์การเรียน
1. ศูนย์การเรียนในห้องเรียน
2. ศูนย์การเรียนเอกทัศ
- ศูนย์การเรียนสำหรับครู เป็นห้องปฏิบัติการวิธีสอน
- ศูนย์วิชาการ สำหรับนักเรียน เพื่อให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
- ศูนย์การเรียนชุมชน เป็นสถานศึกษาที่เปิดโอกาสให้บุคคลทุกเพศทุกวัยเข้ามาศึกษาในเรื่องที่สนใจ

การสอนแบบศูนย์การเรียน
เป็นการจัดสภาพห้องเรียนรูปแบบใหม่ ที่เน้นให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมในการเรียนด้วยตนเองตามโปรแกรมการสอนที่จัดไว้ในศูนย์กิจกรรมต่างๆ

ขั้นตอนการเรียนในศูนย์การเรียน
1. ทดสอบก่อนเรียน
2. นำเข้าสู่บทเรียน
3.ดำเนินกิจกรรมการเรียนโดยแบ่งกลุ่มผู้เรียน
4. สรุปบทเรียน
5. ประเมินผลการเรียน

ประโยชน์ของศูนย์การเรียน
1. สร้างบรรยากาศในการเรียน เพิ่มความสนใจของผู้เรียน
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
3. ช่วยสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพในการแสดงความคิด
4. ส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ

การสอนแบบจุลภาค
คือ การสอนในสถานการณ์จำลองห้องเรียนง่ายๆ เป็นการอสนมุ่งฝึกทักษะเฉพาะในการสอน

หลักเกี่ยวกับการสอนแบบจุลภาค
1. การเสริมแรง
2. การรับรู้ผลย้อนกลับ
3. การฝึกซ้ำหลายๆครั้ง
4. การถ่ายโยงการเรียน

ทักษะการสอนแบบจุลภาค
1. ทักษะสำหรับครูเป็นศูนย์กลาง
2. ทักษะผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ขั้นตอนการสอนแบบจุลภาค
1. ขั้นศึกษาทักษะที่ต้องการฝึก
2. ขั้นเลือกเนื้อหาและวางแผนการสอน
3. ขั้นสอน
4. ขั้นวิเคราะห์ผลการสอน
5. ขั้นตัดสินใจ
6. ขั้นจบกระบวนการสอน

ข้อดีและข้อจำกัดการสอนแบบจุลภาค
ข้อดี ใช้ในการทดลองสอนและปรับปรุงวิธีสอน ใช้ทดลองสอนเพื่อปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตร ใช้ฝึกทักษะและสมรรถภาพในการสอนให้กับครู เปิดโอกาสให้ผู้สอนทดลองสอนจนพอใจ
ข้อจำกัด ผู้ฝึกไม่ได้พบสภาพห้องเรียนจริง การสอนแบบจุลภาคใช้ประกอบการสอนแต่ไม่ใช้แทนการฝึกสอน

การสอนเป็นคณะ
เป็นวิธีดำเนินการสอนแบบที่เน้นการใช้บุคลากรให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยจัดให้ครูร่วมกันวางแผนจัดการเรียนการสอน ประเมินผล และรับผิดชอบเด็กกลุ่มเดียวกัน

วัตถุประสงค์ของการสอนเป็นคณะ
1. ปรับปรุงประสิทธิภาพของการสอน
2. ส่งเสริมการดำเนินชีวิตแบบประชาธิปไตย
3. มีเวลาให้ผู้เรียนมาก
4. แก้ปัญหาจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
5. ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ
6. แก้ปัญหาความไม่ยุติธรรม

รูปแบบการสอนเป็นคณะ
1. แบบมีผู้นำ
2. แบบไม่มีผู้นำ
3. แบบครูพี่เลี้ยง

วิธีดำเนินการสอนเป็นคณะ
1. การสอนเป็นกลุ่มใหญ่
2. ความคิดรวบยอด
3. การสอนเป็นกลุ่มเล็ก
4. การค้นคว้าด้วยตนเอง

ข้อดีและข้อจำกัดของการสอนเป็นคณะ
ข้อดี ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวิชาการ ครูใช้ความถนัดและความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ ทำให้ครูใหม่ได้มีโอกาสได้ฝึกงานให้เกิดความชำนาญ ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง
ข้อจำกัด ต้องเสียเวลาในการเตรียมงานมาก ความสำเร็จของการสอนขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบและความร่วมมือของครู

การสอนทางไกล หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกันแต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะสื่อประสม เช่น ตำราเรียน เทปบันทึกเสียง